วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ระบบหัวฉีด

ระบบหัวฉีดแบ่งตามระบบการทำงานได้หลักๆได้ดังนี้

1 ระบบกลไก (Mechanic)1.1 K-Jetronic หัวฉีดระบบกลไก พบใน Benz รุ่นเก่า1.2 KE-Jetronic หัวฉีดระบบกลไกกึ่งอีเลคทรอนิค พัฒนามาจาก K-Jetronic พบในBenzรุ่นเก่าเช่น W126 W123 และW124 บางรุ่น2 ระบบอีเลคทรอนิค (electronic)2.1 L-Jettronic หัวฉีดระบบอีเลคทรอนิคแบบใช้มาตรวัดอากาศ(Airflow Meter)2.1.1 Airflap Type เช่น Toyota 3T-GTE,1G-GTE,3S-GTE รุ่นเก่า,4A-GE20 valve ฝาบรอนซ์, Mazda BP (Astinaรุ่นไฟPop up),BMW M10,M402.1.2 HotWire Type เช่น Nissan ทุกรุ่น,Toyota 1JZ-GTE VVTi,Mazda Astina รุ่นใหม่,BMW รุ่นใหม่2.1.3 Karman Vortex Type เช่น Toyota 7M-GTE,1UZ-FE,Mitsubishi 4G63 Sirius,VR4,EVO ทุกรุ่น2.2 D-Jettronic หัวฉีดระบบอีเลคทรอนิคแบบใช้ตัวตรวจจับแรงดันในท่อร่วมไอดี(MAP Sensor)เช่น HONDA ทุกรุ่น,Toyota 4A-FE,4A-GE 16 Valve,7A-FE,3VZ-FE,1JZ-GTE,2JZ-GTE ,Mitsubishi 4G93 Mivec เป็นต้น เรายังอาจแบ่งชนิดของระบบหัวฉีดตามตำแหน่งการฉีดได้ดังนี้1 Single Point แบบฉีดตำแหน่งเดียว หน้าลิ้นปีกผีเสื้อเช่น Mitsubishi 4G63Sirius มีเรือนลิ้นปีกผีเสื้อ(Throttle body) เป็นอุปกรณ์หลัก มีลักษณะคล้าย Carburetor ,มีข้อดีคือสามารถติดตั้งแทนระบบที่เป็นCarburetorได้ง่ายมีข้อเสียคือ การเผาไหม้ไม่หมดจดเท่าระบบ Multipointเนื่องจากฝอยละอองในการฉีดอาจกลั่นตัวเป็นหยดเกาะตามท่อไอดีได้เป็นระบบหัวฉีดทีใช้กันในสมัยแรกๆ2 Multi Point แบบฉีดหลายตำแหน่งหน้าลิ้นไอดี ทำให้ฝอยละอองวิ่งผ่าน ลิ้นไอดีเข้าสู่ห้องเผาไหม้ในสภาพเป็นฝอยละอองได้มากกว่าระบบ Single Point อาจมีบางส่วนกลั่นตัวเป็นหยดอยู่หน้าลิ้นไอดีบ้าง เป็นระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน3 Gasoline Direct Injection แบบฉีดเข้าห้องเผาไหม้โดยตรง ให้การเผาไหม้ที่หมดจดที่สุด เนื่องจากการฉีดถูกกระทำในห้องเผาไหม้ ทำให้น้ำมันคงสภาพเป็นฝอยละอองได้ดีที่สุด เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบหัวฉีดDeisel เป็นระบบที่กำลังพัฒนาอยู่ และมีต้นทุนสูง และยังไม่แพร่หลายในปัจจุบันทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการแนะนำให้ท่านรู้จักกับระบบหัวฉีดแบบพอสังเขป รายละเอียดจริงๆมีมากกว่านี้มากหากจะเขียนกันจริงๆคงต้องทำกันเป็นหนังสือ แต่เนื่องจากปัจจุบันนี้บางระบบไม่นิยมใช้แล้วและเป็นการสิ้นเปลืองเวลาของท่านผู้อ่าน ผมจึงขออนุญาติที่จะเจาะลึกลงในส่วนของระบบ EFI (หัวฉีด Electronic)แบบ Multipoint เท่านั้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบหัวฉีด EFI

1 Throttle Sensor มี2ชนิด1.1 แบบสวิทซ์ (Switch Type) ไม่ค่อยนิยมใช้เนื่องจากจับความละเอียดของการเหยียบคันเร่งได้ไม่ดี1.2 แบบตัวต้านทานปรับค่าได้ (Potentio Metor Type) ทำงานโดยการเปลี่ยนแปลงความต้านทานให้มีความสัมพันธ์กับการเปิดมุมลิ้นเร่ง(การเหยียบคันเร่ง) เช่น ขณะลิ้นเร่งปิดสนิทจะมีความต้านทาน 15 โอมห์หากมีการเหยียบคันเร่งเพิ่มขึ้น ค่าควาต้านทานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 5000 โอมห์ เป็นแบบที่นิยมใช้ในปัจุบัน2 Air Temp. Sensor คือSensor ที่ใช้ในการตรวจจับอุณหภูมิไอดี โดยการเปลี่ยนแปลงความต้านทานตามความร้อนของอากาศที่ไหลผ่านตัว Sensor3 Coolant Temp. Sensor คือSensor ที่ใช้ในการตรวจจับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น โดยการเปลี่ยนแปลงความต้านทานตามความร้อนของน้ำที่สัมผัสกับ Sensor4 Knock Sensor คือSensor ที่ใช้ในการตรวจจับการ Knock ของเครื่องยนตร์หรือ อาการที่วัยรุ่นบ้านเราเรียกกันติดปากว่า อาการเขกนั้นเอง อาการนี้เกิดจากส่วนผสมน้ำมันบางเกินไปหรือ ไฟจุดระเบิดแก่(Advance)เกินไป5 MAP Sensor (D-Jettronic) คือSensor ที่ใช้ในการตรวจจับแรงดันในท่อร่วมไอดี โดยจะให้ output ตอบกลับ เป็น สัญญาณไฟฟ้า 0-5V โดยจะให้สํญญาณเข้าใกล้ 0V เมื่อเกิดสูญญากาศ (Vaccum)มาก และให้สัญญาณไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเมื่อ เกิดสูญญากาศน้อย หรือ เกิดแรงดัน Turbo (Boost)6 Airflow Meter (L-Jettronic) คือมาตรวัดการไหลของอากาศเพื่อตรวจจับปริมาตรอากาศที่เข้าเครื่องยนตร์มีอยู่ 3ชนิด แต่เนื่องจากรายละเอียดมีเยอะมากเราจะเจาะลึกกันในเล่มต่อไป7 Fuel Injector คือหัวฉีดที่ใช้ในการฉีดน้ำมัน8 Fuel Regulator คืออุปกรณ์ใช้ในการควบคุมแรงดันในการฉีดน้ำมันให้คงที่โดยแรงดันที่เกินจะถูกระบายออกกลับสู่ถังน้ำมัน9 Fuel Pump คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังมาอัดให้เกิดแรงดันส่งไปยังหัวฉีด10 Ignitor หรือ Ignition Module คืออุปกรณ์ที่ช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้า( Amplifier)ควบคุมการจุดระเบิดจากกล่อง ECU เพื่อให้สัญญาณมีกำลังมากพอที่จะขับ(Drive) คอยล์จุดระเบิด11 Coil คอยล์จุดระเบิดทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าความต่างศักย์ต่ำ (12V) ให้มีความต่างศักย์สูง ( over 40000 V) เพื่อที่จะได้เกิดประจุไฟฟ้ากระโดดผ่านช่องว่าง(Gap) ที่เขี้ยวหัวเทียนได้12 Crank Sensor คือ Sensorที่ทำหน้าที่ให้สัญญาณ มุมเพลาข้อเหวี่ยงและศูนย์ตายบน(Top Dead Center) ซึ่งเป็นตัวให้จังหวะในการฉีดน้ำมันและจุดระเบิด(แค่ให้จังหวะเท่านั้นไม่ใช่ปริมาณการฉีด) กับ ECUมีด้วยกัน 3 แบบ คือ–Magnectic Pickup จะให้สํญญาณเมื่อมีโลหะวิ่งผ่าน-Hall effect Sensor จะให้สํญญาณเมื่อมีแม่เเหล็กวิ่งผ่าน-Optical Sensor จะให้สํญญาณเมื่อมีการตัดลำแสง13 กล่องECU อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากSensor ทุกตัวเพื่อคำณวณ การฉีดน้ำมัน และจังหวะในการจุดระเบิดที่เหมาะสมกับเครื่องยนตร์ตามตาราง(MAP)ที่มีการบันทึกไว้ใน หน่วยความจำ(ROM) ที่อยู่ภายในกล่อง ECU14 Oxygen Sensor ,Lambda Sensor ทำหน้าที่วัด อัตราส่วนผสมน้ำมันกับอากาศ ( Air / Fuel Ratio ) เพื่อทำการป้อนผลลัพธ์กลับไปยัง ECU เพื่อทำงานในระบบ Closed Loop (ระบบปรับการฉีดน้ำมันแบบควบคุมส่วนผสมอัตโนมัติซึ่งจะจะเจาะลึกในเล่มอื่นต่อไป)


ระบบหัวฉีดที่มีระบบ OBD (Injeufion Car with OBD)
ชุดอุปกรณ์หัวฉีด SGI Sequential System เหมาะสมกับเครื่องยนต์ระบบหัวฉีด และมีระบบ OBD ซึ่งเป็นระบบประมวลผลการทำงานต่างๆภายในเครื่องยนต์ และของรถยนต์ ชุดอุปกรณ์ชุดนี้จะเทคโนโลยีเทียบเท่ากับรถเลย การจ่ายแก๊สจะจ่ายตรงเข้าที่จุดระบบโดยไม่ผ่านท่อร่วมไอดี จะฝังหัวฉีดแต่จะท่อไอดี ให้ใกล้กับหัวฉีดน้ำมัน ควบคุมโดยกล่อง ECU ระบบนี้จะไม่เกิดการระเบิดย้อนหลัง (Backfire) โดยเด็ดขาด เนื่องจากการจ่ายแก๊สเข้าตรงที่กระบอกสูบในปริมาณที่ต้องการต่อการเผาผลาญใน 1 ครั้ง จะไม่มีแก๊สตกค้างเลย
ชุดอุปกรณ์ที่เป็นชุดที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงสุด จะสามารถประหยัดแก๊สได้มากกว่า 70% ระบบการทำงานเป็นระบบการทำงานอัตโนมัติตลอดการใช้งาน ผู้ขับขี่ไม่ต้องยุ่งยากต่อการใช้งาน
ข้อดีของการติดตั้งชุดอุปกรณ์ หัวฉีด SGI Sequential System
1. ไม่ต้องเปลี่ยนท่อร่วมไอดี ใช้ได้ทั้งเหล็กและพลาสติก
2. ช่วยรักษาระบบของรถยนต์ให้ทำงานได้ 100% ตามเดิม
3. ประหยัดแก๊สสูงสุดถึง 70% เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ
4. ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์
5. ไฟรูปเครื่องยนต์ไม่แสดงที่หน้าปัด
6. ประสิทธิภาพการวิ่งเทียบเท่ากับน้ำมัน

















ระบบหัวฉีดที่ไม่มีกล่องควบคุมมลพิษ (Mixer)
ชุดอุปกรณ์ Standard Injection เหมาะสมกับรถยนต์หัวฉีด ที่ไม่มีกล่องควบคุมมลพิษ (Catalytic) จะใช้ Mixer เพื่อการทำการดูดแก๊สเข้าไปที่ท่อร่วมไอดี ท่อร่วมไอดีต้องเป็นเหล็กเท่านั้น เนื่องจากต้องทนทานต่อการระเบิดย้อนหลัง (Backfire) จากการตกค้างของแก๊สที่เผาผลาญไม่หมด ระบบนี้ควบคุมการตัดระบบหัวฉีดน้ำมัน และระบบการจ่ายแก๊สด้วยลีเลย์ไฟฟ้า (Timing Rolag)
ข้อดีของการติดตั้งชุดอุปกรณ์ Standard Injection
ประหยัดค่าใช้จ่ายประมาณ 40-50 % ระบบการทำงานเป็นระบบการทำงานอัตโนมัติ ผู้ขับไม่ต้องยุ่งยากต่อการใช้งาน เมื่อสตาร์ทรถยนต์ระบบจะสตาร์ทด้วยระบบน้ำมันทุกครั้งเพื่อรักษาเครื่องยนต์ และเมื่อคุณเร่งเครื่องยนต์ระบบจะทำงานโดยการตัดเข้าสู่แก๊ส และเมื่อคุณดับเครื่องยนต์ ระบบจะย้อนกลับไปสู่ระบบน้ำมันดังเดิมทุกครั้ง
























ฮอนด้าพัฒนาเทคโนโลยีก้าวล้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบหัวฉีด PGM-FI

ฮอนด้าก้าวล้ำหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีรถจักรยานยนต์ สนองตอบ ทั้งความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค และที่สำคัญยังส่งเสริมสภาพสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบหัวฉีด PGM-FI สำหรับรถขนาดเล็ก ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง โดยควบคุมการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างแม่นยำ และลดค่าไอเสีย ประกอบกับ ออกแบบโครงสร้างเครื่องยนต์แบบใหม่ ช่วยลดการสูญเสียพลังงาน ส่งผลให้มีไอเสียสะอาดขึ้น อัตราการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนสมรรถนะสูงขึ้น พร้อมเริ่มต้นติดตั้งในรถรุ่นใหม่ปี 2008 และขยายให้ ครอบคลุมทุกรุ่นภายในปี 2009
บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยถึงความก้าวล้ำหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย รวมทั้งรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กนี้ยังมีสัดส่วนปริมาณการใช้ ในทั่วโลกสูงถึง 90% จากรถจักรยานยนต์รวมทุกประเภท โดยการพัฒนาครั้งนี้มุ่งเน้นวัตถุประสงค์หลักสองประการสำคัญคือสนองตอบความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมการอนุรักษ์สภาพสิ่งแวดล้อม
โดยเทคโนโลยีใหม่สำหรับรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กนั้น นับเป็นความสำเร็จของพัฒนาการที่ต่อเนื่อง ด้วยการนำเทคโนโลยีชั้นสูงระดับโลกในรถจักรยานยนต์รุ่นใหญ่ (Big Bike) ถ่ายทอดสู่เครื่องยนต์เล็ก คือ เทคโนโลยีระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบหัวฉีด หรือ Programmed Fuel Injection (PGM-FI) ซึ่งระบบนี้ได้รับการพัฒนาใหม่ ให้โครงสร้างทุกชิ้นส่วนของกระบวนการทำงาน มีขนาดกะทัดรัดสอดคล้องกับขนาดของเครื่องยนต์ อันนับเป็น
การพัฒนาให้อุปกรณ์ของระบบแบบหัวฉีดมีขนาดเล็กที่สุดในโลก ในขณะที่ควบคุมการทำงานด้วยสมองกลอัจฉริยะ ECU (Engine Control Unit) รวมทั้งอุปกรณ์เชื่อมโยงระบบทั้งหมดเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัย โดยเฉพาะ O2 เซ็นเซอร์ ซึ่งตรวจวัดระดับออกซิเจนในไอเสีย พร้อมเซ็นเซอร์คำนวณการผสมผสานการจ่ายน้ำมันอย่างแม่นยำรวม 5 จุด ส่งผลให้ PGM-FI ยุคใหม่สำหรับรถขนาดเล็ก มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านการตอบสนองอัตราเร่ง รวมถึงทำให้ไอเสียสะอาด และเพิ่มอัตราการประหยัดน้ำมัน
เทคโนโลยีระบบหัวฉีด PGM-FI ยุคใหม่ล่าสุด ทั้งนี้ความโดดเด่นพิเศษและหน้าที่การทำงานของเทคโนโลยีระบบนี้ คือ โครงสร้างชิ้นส่วนที่มีขนาดกะทัดรัด
ทั้งปั๊มน้ำมัน หัวฉีด และ ECU โดยเล็กลงจากที่ใช้ในรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ถึง 25% 70% และ 40% ตามลำดับ โดยขนาดหัวฉีดที่มีขนาดเล็กนั้นทำให้ใช้ปริมาณไอดีเพียง 1/2 และใช้น้ำมัน 1/3 ของระบบหัวฉีด ในรถขนาดใหญ่ ต่อการจุดระเบิดหนึ่งครั้ง ประกอบกับเรือนลิ้นเร่ง (Throttle Body) ที่มีการติดตั้งเซ็นเซอร์สามจุด คือ เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิอากาศ , เซ็นเซอร์ตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง และเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงดันในท่อไอดี รวมถึงการทำหน้าที่ของเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง ทำให้สามารถควบคุมการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนั้นแล้ว อุปกรณ์เชื่อมโยงการทำงาน อันได้แก่ ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ยังได้รับการออกแบบให้มีขนาดเล็กโดยผลิตขึ้นจากเรซินชนิดพิเศษ ซึ่งมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่น รวมถึงมีการยกเลิกท่อน้ำมันไหลกลับ ส่งผลให้ ลดความซับซ้อนของโครงสร้างระบบ และที่สำคัญมีการติดตั้งออกซิเจนเซ็นเซอร์ หรือ O2 เซ็นเซอร์ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพการเผาไหม้ โดยตรวจวัดค่าออกซิเจนในไอเสีย แล้วส่งข้อมูลไปยัง ECU สำหรับใช้เป็นข้อมูล ในการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ในขณะที่ระบบกำเนิดไฟฟ้าได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ สามารถควบคุมการทำงาน ของจังหวะการจุดระเบิดได้ถูกต้อง รวมถึงระบบกรองไอเสียออกแบบให้โครงสร้างภายในเป็นกรองแบบรังผึ้ง (Metal Honeycomb) ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงในการกรองไอเสีย
จากการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ทั้งหมดในภายโครงสร้างระบบ PGM-FI ยุคใหม่ของเครื่องยนต์ขนาดเล็ก จะส่งผลให้การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมีความแม่นยำสูง อีกทั้งการเผาไหม้สมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะให้ค่าไอเสียสะอาด และประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ยังตอบสนองอัตราเร่งได้รวดเร็ว ทำให้ขับขี่ได้อย่างเพลิดเพลินและสนุกสนาน
นอกจากนั้นภายในเครื่องยนต์รุ่นใหม่ยังได้รับการปรับโครงสร้างและรายละเอียดต่างๆ เพื่อลดแรงเสียดทานลง มากถึง 14% อันเป็นส่วนช่วยทำให้ลดการสูญเสียพลังงานในเครื่องยนต์ได้ในระดับสูง
โครงสร้างเครื่องยนต์ใหม่ ลดแรงเสียดทานภายในสำหรับการปรับโครงสร้างและรายละเอียดต่างๆ ของเครื่องยนต์ใหม่ประกอบด้วย กระเดื่องวาล์วที่เป็นแบบโรลเลอร์ ซึ่งส่งผลให้จุดสัมผัสที่เป็นโรลเลอร์หรือเป็นแบบล้อของกระเดื่องวาล์วกับแคม มีการเสียดสีลดน้อยลง , ผิวลูกสูบออกแบบใหม่ให้มีคุณสมบัติลดแรงเสียดทาน ด้วยการทำให้บริเวณสเกิร์ตของผิวลูกสูบเป็นร่อง เพื่อเก็บกักน้ำมันหล่อลื่นอันเป็นผลลดการเสียดสี , ลูกสูบออกแบบใหม่ให้มีน้ำหนักเบาขึ้น 10% ทำให้เครื่องยนต์โดยรวม มีน้ำหนักเบา , เพลาข้อเหวี่ยงแบบมีระยะเยื้องศูนย์ (offset) ซึ่งลดแรงเสียดทานระหว่างเสื้อสูบกับลูกสูบ , ติดตั้ง Oil Jet ที่ด้านหลังลูกสูบ เพื่อฉีดน้ำมันหล่อลื่นไปที่ลูกสูบ โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพในการหล่อลื่น รวมทั้งระบายความร้อนให้กับลูกสูบ และที่สำคัญเครื่องยนต์รุ่นใหม่เป็นขนาด 110 ซีซี แบบ 4 จังหวะ ทำให้ลดรอบการทำงานของเครื่องยนต์ ในขณะที่มีสมรรถนะสูงขึ้น และประหยัดน้ำมันมากขึ้น
ทั้งนี้ด้วยระบบ PGM-FI ยุคใหม่ พร้อมการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรายละเอียดเครื่องยนต์ เป็นขนาด 110 ซีซี แบบ 4 จังหวะ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ในรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กในปัจจุบัน คือ ฮอนด้าเวฟ 100 แล้ว
ปรากฏว่าเทคโนโลยีใหม่นี้ ให้การขับขี่ที่สนุกสนานด้วยสมรรถนะที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 20% ในขณะที่ประหยัดน้ำมัน มากกว่า 15% และที่สำคัญมีค่าไอเสียเพียง 1 ใน 5 ของมาตรฐานควบคุมไอเสียระดับ 5 ซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเทคโนโลยีใหม่นี้สามารถรองรับมาตรฐานควบคุมไอเสียระดับ 6 ที่จะประกาศบังคับใช้ในอนาคต
ด้วยพัฒนาการอันล้ำหน้าเพื่อสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้บริโภค ทางฮอนด้าเตรียมพร้อมสำหรับการติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดนี้ เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับรถจักรยานยนต์ ด้วยประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากไอเสียที่สะอาดมากยิ่งขึ้น และประหยัดน้ำมันสูงขึ้นรวมถึงสมรรถนะสูง ให้การขับขี่ที่สะดวกสบายและสนุกสนาน โดยเทคโนโลยีใหม่นี้จะเริ่มต้นติดตั้งใน รถจักรยานยนต์ฮอนด้ารุ่นใหม่ในปี 2008 และจะขยายให้ครอบคลุมในรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นของฮอนด้าภายในปี 2009

ไม่มีความคิดเห็น: