รู้จักหัวเทียน
หัวเทียนเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของระบบจุดระเบิด โดยทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าแรงเคลื่อนสูงจากคอยล์แล้วทำให้เกิดประกายไฟ กระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียน โดยทั่วไปจะกระโดดจากเขี้ยวกลางไปลงดินที่เขี้ยวด้านล่าง เพื่อทำการจุดระเบิดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบ
การเลือกใช้หัวเทียนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของเครื่องยนต์มีข้อควรคำนึงที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
ค่าความร้อน
ความยาวเกลียว
ค่าความร้อน เนื่องจากหัวเทียนยื่นเข้าไปในห้องเผาไหม้ ได้รับความร้อนจากห้องเผาไหม้อยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน ความสามารถในการระบายความร้อนนี้เรียกว่า “ค่าความร้อน” ซึ่งหัวเทียนที่เราเรียกกันว่า หัวเทียนร้อน (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้ช้า) หรือ หัวเทียน (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้เร็ว) สามารถดูได้จากเบอร์ของหัวเทียนความยาวเกลียว การเลือกหัวเทียนควรจะต้องมีความระวังในเรื่องความยาวเกลียวด้วยเพราะหากขนาดเกลียวยาวเกินไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวลูกสูบเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน
ความหมายของเบอร์หัวเทียน (NGK)
BP6HSอักษรตัวแรก หมายถึง ขนาดความโตของเกลียวหัวเทียน (A=18mm, B=14mm, C=10mm, D=12mm)อักษรตัวที่สอง หมายถึง แบบหรือชนิดของหัวเทียนมาตรฐาน (P=มีกระเบื้องเคลือบฉนวน)ตัวเลขถัดไป หมายถึง หัวเทียนร้อนหรือเย็น โดยจะมีตั้งแต่เลข 2-13 (หรือมากกว่า) - เลขยิ่งน้อย หัวเทียนยิ่งร้อน, เลขยิ่งมาก หัวเทียนยิ่งเย็นตัวอักษรหลังตัวเลข หมายถึง ความยาวของเกลียวหัวเทียน (E=19mm, H=12.7mm, L=11.2mm)อักษรตัวถัดไป หมายถึง แบบหรือชนิดของหัวเทียนพิเศษ (S=หัวเทียนแบบมาตรฐาน, G=หัวเทียนรถแข่ง) หัวเทียน นอกจากจะเป็นตัวทำให้เกิดประกายไฟในระบบจุดระเบิดแล้ว อาการผิดปกติจากเครื่องยนต์บางอย่าง สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากสภาพของหัวเทียน ดังนี้
- หัวเทียนสภาพปกติจะมีคราบสีเทาหรือสีน้ำตาลที่ปลายฉนวน เขี้ยวมีการสึกหรอน้อย
- มีคราบเขม่าดำ แห้ง เกาะที่ปลายฉนวน เขี้ยวและด้านในอาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่เรียบขณะเดินเบาสาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดเย็นไป, ไส้กรองอากาศอุดตัน, โช้คค้างหรือโช้คนานเกินไป ตั้งไฟอ่อนมากเกินไปหรืออาจเป็นที่ระบบจุดระเบิดขัดข้องแก้ไข เปลี่ยนหัวเทียนชนิดร้อนขึ้น (ลดเบอร์ลง) และปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ถูกต้อง
- มีคราบน้ำมันเปียกดำ เกาะที่ปลายฉนวน,เขี้ยวไฟอาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่เรียบขณะเดินเบาสาเหตุ แหวนลูกสูบอาจสึกหรือสัมผัสลูกสูบไม่เต็มหน้า หรือส่วนผสม (เชื้อเพลิงและอากาศ) หนาเกินไปแก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดร้อนขึ้น, ปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ตามมาตรฐาน หรือ ถ้ายังไม่หาย ให้ทำการตรวจเช็ค ลูกสูบและแหวนลูกสูบ
- กระเบื้องแตกร้าว คล้ายเกิดจากความร้อนจัดอาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะทางไกล หรือบรรทุกของหนักมากสาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป หรือตั้งไฟแก่เกินไป หรือไม่ก็ระบบระบายความร้อนบกพร่องแก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น หรือปรับตั้งไฟ จุดระเบิดให้ถูกต้อง ตลอดจนปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่
- กระเบื้องถูกเผาจนเป็นสีขาวอาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะไกล หรือบรรทุกของหนักมากสาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนเกินไป ใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่เกินไป หรือส่วนผสมบางเกินไปแก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้งตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่
- เขี้ยวไฟละลายอาการ อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวเทียนชำรุดและเป็นอันตรายต่อลูกสูบสาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนเกินไป ใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่เกินไป หรือส่วนผสมบางเกินไปแก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้งตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น